ตะกรุด จากความเชื่อ สู่แฟชั่น
การ ห้อยตะกรุด เป็นเครื่องรางของขลังที่ผูกพันกับคติความเชื่อในสังคมไทยมาช้านาน เชื่อกันว่าเป็นวัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์ ให้ผลดีในทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ป้องกันอันตราย ภัยพิบัติทั้งหลาย รวมทั้งด้านเมตตามหานิยม ค้าขาย โชคลาภ พลิกชะตา เสริมเรื่องการงานช้วยเลื่อนยศ เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี ซึ่ง ตะกรุด ถูกสร้างโดยอ้างถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
ตะกรุด นั้นทำมาจากวัสดุต่าง ๆ ตามตำราของครูบาอาจารย์แต่ละท่าน แต่ที่พบโดยทั่วไปจะเป็นการนำโลหะแผ่นบาง ๆ อาจจะเป็น ทองคำ เงิน นาก ตะกั่ว หรือโลหะผสมอื่น ๆ มาลงอักขระเลขยันต์ด้วยเหล็กจารแสดงความหมายที่แตกต่างกันออกไป แล้วม้วนให้เป็นท่อกลมโดยมีช่องว่างตรงแกนกลางสำหรับร้อยเชือกติดตัว
อาจนำมาหลอมรวมกันแล้วทำเป็น ตะกรุด หล่อโบราณ ทำจากรางน้ำฝน ทำจากกาน้ำ ทำจากใบลาน ตัดเป็นแผ่นก่อนแช่น้ำแล้วนำมาม้วนเป็นท่อกลม ที่ทำจากหนังสัตว์ เช่น หนังเสือ หนังหน้าผากเสือ หนังงู หนังเสือดาว หนังลูกวัวอ่อนตายในท้องแม่ หรือจากกระดูกสัตว์ ตะกรุด กระดูกช้าง ตะกรุดจากเขาวัวเผือก
ตะกรุด ใช้บูชาอยู่ 3 แบบ คือ ใช้คล้องคอ ใช้คาดเอว และปัจจุบันนิยมนำมา ใช้คล้อง เรียกว่า ตะกรุดโทน หากเป็นสองดอกจะเป็น ตะกรุดแฝด หรือเป็นโลหะสามชนิดเรียกว่า ตะกรุดสามกษัตริย์ หาก 16 ดอกเรียกว่า ตะกรุดโสฬส
ปัจจุบัน ตะกรุด ได้กลับมาได้รับความนิยม และสวมใส่กันในหลากหลายช่วงอายุ กลายเป็นไอเทมสายแฟชั่น ที่กลับมานิยมกันอย่างแพร่หลายอีกครั้ง เช่น ตะกรุดหลากสี , ตะกรุดมหาเสน่ห์ , ตะกรุดปลดหนี้ , ตะกรุดมหามนต์จนไม่เป็น , ตะกรุดแฝดพญาเทครัว ครูบาชัย , ตะกรุดมงคลจักรวาล หลวงปู่บุญยัง , ตะกรุดนะเศรษฐีเหนือดวง
เพราะการปรับเปลี่ยนรูปแบบการสวมใส่ให้ดูสวยงาม ทันสมัย และน่ามีไว้ครอบครองเพื่อบูชา และติดตัวไปได้ โดยกลมกลืนกับการแต่งกายในปัจจุบัน ห้อยตะกรุด จึงกลายเป็นเหมือนอีกหนึ่งเครื่องประดับสำคัญของใครหลายคน ที่ช่วยเสริมทั้งความสวยงามให้ผู้สวมใส่ และเสริมบารมี เสริมดวง ได้ ในเวลาเดียวกัน…
[pt_view id=”5d85dbfzy3″]