[bt_bb_section layout=”boxed_1200″ lazy_load=”yes” show_video_on_mobile=”” show_sticky=”show-in-list” show_previous_posts=”hide” force_posts_show=”default” order_by=”default”][bt_bb_row][bt_bb_column lazy_load=”yes” width=”1/1″][bt_bb_text]
เผยเคล็ดลับ “การใส่บาตรให้ถูกต้อง” ได้บุญครบถ้วน ทั้งตัวเอง และผู้ที่อุทิศส่วนกุศลให้
วันนี้ ดวงD จะมา เผยเคล็ดลับ “การใส่บาตรให้ถูกต้อง” ได้บุญครบถ้วน ทั้งตัวเอง และผู้ที่อุทิศส่วนกุศลให้ แต่ก่อนอื่นสิ่งสำคัญที่สุดในการใส่บาตร คือ อย่ามีคำถามว่าการทำบุญนี้จะส่งผลถึงผู้ที่อุทิศส่วนกุศลไปให้แล้วหรือไม่ เพราะหลักสำคัญแห่งการให้ทานอยู่ที่ว่าการทำทานช่วยให้เราเกิดจิตที่ปีติ ยินดี เป็นหลักการคิดที่จะช่วยให้จิตภายหลังในการให้ทานนั้นเกิดความบริสุทธิ์ต่อไปอย่างยาวนาน
1.ขณะที่เรากำลังยืนรอใส่บาตรให้ทำจิตตั้งมั่นไว้ว่าจะใส่บาตรโดยไม่เจาะจงพระภิกษุหรือเณรรูปใด เพราะการใส่บาตรโดยไม่เจาะจงนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่ามีอานิสงส์มากกว่าการใส่บาตรโดยเจาะจง
2.เมื่อพระภิกษุเดินมาใกล้จะถึงที่ที่เรายืนอยู่ให้พึงอธิษฐานจิตเสียก่อนโดยถือขันข้าวด้วยมือทั้งสองข้างยกขันข้าวขึ้นเสมอหน้าผากพร้อมกับนั่งกระหย่งปลายเท้าลงแล้วกล่าวคำอธิษฐานว่า “สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ” แปลว่าทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นเครื่องนำมาซึ่งความสิ้นกิเลสเถิด” อาจจะอธิษฐานในใจก็ได้ เป็นเครื่องนำมาซึ่งความสิ้นกิเลสเถิด” อาจจะอธิษฐานในใจก็ได้
3. ลุกขึ้นยืนและถอดรองเท้า ที่ต้องถอดรองเท้านั่นก็เพราะการสวมรองเท้าอยู่แสดงว่าเรายืนสูงกว่าพระ ถือเป็นการไม่สมควร แต่ที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่งก็คือบางคนถอดรองเท้าก็จริงอยู่แต่กลับไปยืนอยู่บนรองเท้าเสียอีก ทำให้เรายืนอยู่กว่าพระไปกันใหญ่ ดังนั้นถ้าตั้งใจจะใส่รองเท้าเพื่อการใส่บาตรให้ได้จริงๆ ก็ควรจัดที่ให้พระสงฆ์ยืนอยู่สูงกว่า
4. เมื่อใส่บาตรเสร็จแล้วถ้ามีโต๊ะรองอาหารหรือรถยนต์จอดอยู่ด้วยให้วางขันข้าวบนนั้นยืนตรงน้อมตัวลงไว้พระภิกษุและสามเณร แต่ถ้าหากตักบาตรอยู่ริมทางโดยไม่มีโต๊ะควรนั่งลงแล้ววางขันข้าวไว้ข้างตัวยกมือไว้พระสงฆ์พร้อมกับอธิษฐานว่า “นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, สังโฆ เม สะระณัง วะรัง, เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา” แปลว่าสรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ขอให้ข้าพเจ้าเจริญในพระศาสนาของพระศาสดาเถิด”
5. หลังจากนั้นควรอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยการกรวดน้ำและกล่าวว่า “อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขอบุญทั้งหลังจงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลายจงเป็นสุข เป็นสุขเถิด”
[/bt_bb_text][/bt_bb_column][/bt_bb_row][/bt_bb_section][bt_bb_section layout=”boxed_1200″ lazy_load=”yes” show_video_on_mobile=”” show_sticky=”show-in-list” show_previous_posts=”hide” force_posts_show=”default” order_by=”default”][bt_bb_row][bt_bb_column lazy_load=”yes” width=”1/1″][bt_bb_separator top_spacing=”” bottom_spacing=”” border_style=”” border_width=”” separator_width=”default” color_scheme=”” responsive=”” publish_datetime=”” expiry_datetime=”” el_id=”” el_class=”” el_style=””][/bt_bb_separator][/bt_bb_column][/bt_bb_row][/bt_bb_section][bt_bb_section layout=”boxed_1200″ lazy_load=”yes” show_video_on_mobile=”” show_sticky=”show-in-list” show_previous_posts=”hide” force_posts_show=”default” order_by=”default”][bt_bb_row][bt_bb_column lazy_load=”yes” width=”1/1″][bt_bb_text][pt_view id=”5d85dbfzy3″][/bt_bb_text][/bt_bb_column][/bt_bb_row][/bt_bb_section]